แนวโน้มและโอกาสของแรงงานไทย
♦ โอกาสของแรงงานไทยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)
จากข้อมูลพบว่า จำนวนแรงงานไทยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2568 มีจำนวน 12,215 คน
ซึ่งไปถูกต้องตามกฎหมาย 5,215 คน และแรงงานที่ไม่ผ่านระบบการจ้างงานที่ถูกต้อง 7,000 คน แรงงานไทยส่วนใหญ่นั้น
ทำงานอยู่ในเมืองดูไบ คิดเป็น 47.3% รองลงมา คือ กรุงอาบูดาบี คิดเป็น 39.9% และที่เหลือกระจายตัวอยู่ในรัฐอื่นๆ
คิดเป็น 12.8% ในตำแหน่งต่างๆ ดังนี้ นวด/สปา พนักงานเสริมสวย/ทำเล็บ 29.45% พนักงานสายการบิน(Emirate Airline/
Etihad Airway/Fly Dubai/Air Arabia) 19.04% พนักงานร้านอาหาร (พ่อครัว/แม่ครัว,พนักงานเสิร์ฟ) 15.9% ช่างในสาขา
Gas & Oil / ก่อสร้าง / โรงงานอุตสาหกรรม 11.8% พนักงานต้อนรับ และตำแหน่งอื่น ๆ ในโรงแรม 10.2% พนักงานขาย
และที่เกี่ยวข้อง 7.9% และอื่น ๆ 5.71% โดยเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
แนวโน้มความต้องการแรงงานไทย 5 กลุ่ม ได้แก่
1) ภาคบริการ (Hospitality)
2) ด้านสาธารณสุขและการแพทย์ (Health Care)
3) ภาคก่อสร้าง โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซ
4) อุตสาหกรรมการการบิน
5) ด้านบริการทางการค้า
สืบเนื่องจาก UAE กำหนดนโยบายส่งเสริมการมีงานทำของคนชาติ (Emiratisation) กล่าวคือกำหนดให้บริษัทเอกชน
ที่มีการจ้างพนักงาน 50 คน ขึ้นไป จะต้องจ้างพนักงานชาวอูเออีในระดับทักษะ โดยมีเป้าหมายให้มีการจ้างงาน 10% ภายใน
สิ้นปี พ.ศ. 2569 หากไม่ปฏิบัติตาม จะต้องจ่ายค่าปรับในอัตราที่สูง เนื่องจาก UAE มีชาวต่างชาติเข้ามาทำงานมากถึง 90%
มีความต้องการแรงงานในระดับ semi-skilled และ skilled labour รวมถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาช่างต่าง ๆ ซึ่งแรงงานไทยนั้น
ได้รับการยอมรับในทักษะฝีมือ แต่ยังขาดทักษะด้านภาษา ดังนั้น ทักษะด้านภาษาจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับแรงงานไทย
ในการเข้ามาทำงานใน UAE โดยฝ่ายแรงงานฯ มีข้อห่วงใยต่อแรงงานที่เข้ามาทำงานในระดับ unskilled เนื่องจาก UAE ไม่มี
การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และมีอัตราค่าจ้างที่ต่ำ รวมไปถึงความแตกต่างด้านสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และวัฒนธรรม
อย่างไรก็ตามฝ่ายแรงงานฯพิจารณาแล้วเห็นว่าตลาดการจ้างงานใน UAE จะเป็นโอกาสและความท้าทายของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการ
แสวงหาการทำงานและประสบการณ์ ในการทำงานที่หลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรมเพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ และมีคุณภาพ
ชีวิตที่ดีต่อไป
♦ โอกาสของแรงงานไทยในรัฐกาตาร์
ปัจจุบันการเติบโตทางเศรษฐกิจของกาตาร์ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และยังคงพึ่งพาการจ้างงานคนต่างชาติ โดยเฉพาะ
การขับเคลื่อน QNV 2030 และ 3rd NDS ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาการส่งเสริมแรงงาน เพื่อรองรับอนาคต และการเพิ่มสัดส่วน
ชาวต่างชาติที่มีศักยภาพและแรงงานมีฝีมือ (high-skilled) ดังนั้น จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยในการส่งเสริมแรงงานฝีมือ
(skilled) หรือกึ่งฝีมือ (semi-skilled) ในอุตสาหกรรมที่ตรงความต้องการของกาตาร์ อาทิ ช่างเทคนิคเฉพาะทางผู้ให้บริการ
ทางการแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญงานบริการในโรงแรมและสปา ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพที่ชาวไทยมีศักยภาพ และสามารถแข่งขัน
กับแรงงานจากประเทศอื่นได้ รวมถึงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของแรงงานไทย จะช่วยเพิ่มโอกาสการทำงานในกาตาร์
เป็นอย่างมาก เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของกาตาร์เป็นชาวต่างชาติจากหลากหลายประเทศ และภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง
ที่ใช้ในการทำงานในเกือบทุกภาคส่วน
นอกจากนี้ กาตาร์ยังให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญต่อสุขภาพ (health-focused society)
และพัฒนาระบบสุขภาพแบบบูรณาการ (integrated health system) บนพื้นฐานของความเป็นเลิศด้านการแพทย์ ความยั่งยืน
และนวัตกรรม ตามยุทธศาสตร์ ด้านสาธารณสุขแห่งชาติกาตาร์ (National Health Strategy) ปี ค.ศ. 2024 – 2030 ซึ่งเป็น
โอกาสที่ดีสำหรับประเทศไทย ซึ่งมีความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ โดยประเทศไทยควรพิจารณาการขยายตลาด
แรงงานทักษะสูง (skilled) ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในกาตาร์ และการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการแพทย์เฉพาะทาง
ระหว่างไทย-กาตาร์
พร้อมนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานและการธุรกิจในกาตาร์ ได้แก่
- “คู่มือคนไทยในกาตาร์” https://doha.thaiembassy.org/th/content/handbook
- “การทำธุรกิจในกาตาร์” https://doha.thaiembassy.org/th/content/doing-business-in-qatar
ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณาใช้ประโยชน์และประชาสัมพันธ์สำหรับคนไทยที่สนใจทำงานและการธุรกิจในกาตาร์
♦ โอกาสของแรงานไทยในรัฐสุลต่านโอมาน
การขยายตลาดแรงงานในโอมาน ตลาดแรงงานไทยส่วนใหญ่จะเป็นในภาคบริการ สำหรับการบริการด้านโรงแรมและ
ภาคธุรกิจโรงแรมของไทยในเครือเซ็นทารา เครืออนันตรา และกลุ่มดุสิตธานี เข้าไปลงทุนเปิดโรงแรมในโอมาน ตั้งแต่ปี 2017
ด้านบริการการแพทย์ ชาวโอมานนิยมเดินทางมารักษา พยาบาลและตรวจสุขภาพในไทย (ประมาณปีละ 3,000 คน) ซึ่งปัจจุบัน
มีโรงพยาบาลของไทย ได้แก่ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลปิยะเวท และโรงพยาบาล เวชธานี
เข้าไปเปิดสำนักงานส่งต่อผู้ป่วย (Refer Office)ที่กรุงมัสกัต เพื่อให้บริการผู้ป่วยชาวโอมาน ที่ประสงค์รับการรักษาพยาบาล
ในไทย โอกาสในการทำงานในโอมานยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนใหญ่อยู่ในภาคบริการ
♦ โอกาสของแรงงานไทยในสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
ตลาดแรงงานไทยในรัฐอิสลามอิหร่านนั้นยังคงเป็นการรักษาตลาดแรงงานเดิม ไม่มีตลาดแรงงานใหม่ จากข้อมูลของ
สอท.เตหะรานพบว่า แรงงานไทยมักประสบปัญหาเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี และแนวปฏิบัติท้องถิ่นโดยเฉพาะแรงงานสตรี
2496