ชาวอาหรับมีความแตกต่างหลากหลายทั้งด้านศาสนาและวัฒนธรรม ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันแม้ว่าทั้งหมดจะมีอัตลักษณ์เป็นอาหรับเหมือนกัน ทัศนคติทางด้านศาสนาและการมองตนเองของชาวอาหรับถือเป็นหัวใจของแบบแผนวัฒนธรรมอาหรับ โดยหลักพื้นฐานสากลของมุสลิมจะตั้งอยู่บนหลักการตามค าสอนของอิสลามตามที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานและแนวปฏิบัติของศาสดามูฮำหมัด (อัลฮาดิษ) อย่างไรก็ดี การปฏิบัติของมุสลิมแต่ละกลุ่มอาจมีความแตกต่างกันในเรื่องของรายละเอียดปลีกย่อยซึ่งขึ้นอยู่กับนิกาย เช่น ซุนนีย์และชีอะห์ (Schools of Thoughts) เป็นต้น และอาจรวมถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย
ศาสนากับสังคม
การละหมาด
ศาสนาอิสลามกำหนดให้มุสลิมขัดเกลาจิตใจด้วยการละหมาดวันละ 5 เวลา โดยหันหน้าไปทางกิบละฮฺ (คือชุมทิศ ที่มุสลิมหันหน้าไปละหมาดและขอพรนั่นคือนครมักกะฮฺ อยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย) ทั้งนี้ อาจใช้เวลาในการละหมาดในแต่ละครั้งเพียง 3 – 10 นาที โดยมีช่วงเวลาของละหมาดได้แก่
- ช่วงเช้าเมื่อมีแสงพระอาทิตย์จับขอบฟ้าถึงเวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
- ช่วงเที่ยงเมื่อพระอาทิตย์คล้อยถึงช่วงบ่าย (ประมาณ 13.00 – 15.30 น.)
- ช่วงบ่ายถึง ช่วงค่ าก่อนพระอาทิตย์ตกดิน (ประมาณ 16.00 – 18.30 น.)
- ช่วงค่ำหลังพระอาทิตย์ตกดินจนถึงเวลาแสงอาทิตย์ลับจากขอบฟ้า
- ช่วงกลางคืน (ประมาณ 19.30 เป็นต้นไปจนถึงช่วงเช้า)
ตามหลักการแล้วมีข้อกำหนดว่ามุสลิมควรละหมาดให้ตรงเวลาที่กำหนด ดังนั้น หากมีการเชิญมุสลิมมาร่วมกิจกรรมเต็มวันและเป็นหมู่คณะ การจัดเตรียมสถานที่ไว้รองรับสำหรับผู้ที่ประสงค์จะละหมาดย่อมสร้างความประทับใจแก่ชาวมุสลิม ว่าเจ้าภาพมีความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติของศาสนาอิสลาม การเตรียมสถานที่ควรแยกห้องละหมาดชายและห้องละหมาดหญิง (ถ้าทำได้ ถ้าเป็นห้องรวมควรมีฉากกั้นแยกเป็น สัดส่วนชัดเจน) และควรมีการปูผ้าละหมาดบนพื้นห้อง (อาจใช้ผ้าปูโต๊ะสีขาวแทนก็ได้) โดยผู้ละหมาดจะยืนเรียงกันเป็นแถว (บ่าชิดบ่า) เว้นช่องว่างระหว่างแถวหน้าและแถวถัดไปประมาณหนึ่งเมตร (หรือมากกว่าหากมีพื้นที่พอ) สำหรับอิหม่ามผู้ทำหน้าที่ในการนำละหมาดควรจัดเตรียมพรมปูละหมาดขนาดพอดีตัวปูไว้ด้านบนสุดหน้าแถวแรก ทั้งนี้ ด้านหน้าของผู้ละหมาดต้องไม่มีรูปวาดหรือรูปปั้นที่มีลักษณะเป็นรูปคนหรือสัตว์แขวนหรือตั้งอยู่
ทั้งนี้ ก่อนการละหมาดชาวมุสลิมจะต้องทำน้ำละหมาด นั่นคือการล้างมือ บ้วนปาก ล้างหน้า ล้างแขน และเท้า จึงควรแจ้งฝ่ายอาคารฯ ให้ทราบและอาจขอให้มีเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดดูแลเช็ดพื้นบริเวณหน้าอ่างล้างมือ เนื่องจากอาจจะมีน้ำที่หยดจากการล้างแขนและเท้าเลอะพื้นห้องน้ำได้
การถือศีลอด
ในช่วงเดือนรอมฎอน (เดือนแห่งการถือศีลอด) ชาวมุสลิมจะงดการรับประทานและการดื่มในช่วงเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลาพระอาทิตย์ตก ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ คนชรา เด็ก และผู้ที่อยู่ระหว่างการเดินทางไกล ข้อบัญญัติทางศาสนาอนุโลมให้งดเว้นการถือศีลอดได้ รวมทั้งสตรีที่มีประจำเดือนก็ไม่ต้องถือศีลอดเช่นกัน การจัดกิจกรรมหรือจัดประชุมในกรณีที่ผู้เข้าร่วมประชุมมีทั้งชาวมุสลิมและศาสนิกอื่น ๆ ในการปฏิบัติทั่วไปสามารถมีการบริการอาหารว่างและเครื่องดื่มระหว่างการประชุมได้ โดยผู้ที่ถือศีลอดจะงดรับประทานเอง อย่างไรก็ตาม หากผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดเป็นมุสลิม โดยมารยาทแล้วชาวมุสลิมที่ไม่ถือศีลอด ก็จะไม่รับประทานอาหารต่อหน้าผู้ที่ถือศีลอด ในกรณีนี้ จึงอาจพิจารณางดการบริการอาหารว่างได้ อนึ่ง ในประเทศมุสลิมหลายประเทศได้ห้ามการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในที่สาธารณะในช่วงเดือนรอมฎอนซึ่งถือเป็นความผิดและมีบทลงโทษชัดเจน เช่น ซาอุดิอารเบีย อัลจีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรต บาห์เรน คูเวต เป็นต้น ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่ร้านอาหารต่าง ๆ จะปิดการบริหารในในช่วงเช้า – ค่ำ ซึ่งเป็นเวลาของการถือศีลอด
มารยาททางสังคม
ชาวอาหรับเป็นกลุ่มคนที่มีความใจกว้าง การต้อนรับเพื่อนฝูงหรือแม้แต่คนแปลกหน้าก็ให้การต้อนรับอย่างเสมอกัน ในขณะเดียวกันชาวอาหรับก็ชื่นชมและคาดหวังให้ผู้อื่นปฏิบัติกับพวกเขาเช่นเดียวกัน ความใจกว้างที่มีต่อผู้มาเยือนนี่เองที่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะนำมาซึ่งเกียรติยศและชื่อเสียงที่ดีงาม ด้วยเหตุนี้หากมีใครกล่าวหาว่าชาวอาหรับเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียวหรือไม่มีไมตรีจิตต่อผู้มาเยือนแล้วนั้น เรื่องนี้ถือเป็นการดูถูกเหยียดหยามคนอาหรับอย่างมาก และมารยาทที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือเมื่อผู้ใดได้รับเชิญไปเป็นแขกแล้วก็ไม่ควรนำอาหาร เครื่องดื่ม หรือของขวัญไปในงานของเจ้าภาพ และขณะที่อยู่ในงานก็ไม่ควรจะปฏิเสธชาหรือกาแฟที่เจ้าภาพให้เพราะเป็นการเสียมารยาทมาก ทั้งนี้ แขกควรอยู่ให้ถึงช่วงเวลาดื่มชาหรือกาแฟมื้อสุดท้าย หากกลับก่อนถือเป็นการเสียมารยาทมากเช่นกัน สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งต้องห้ามทางศาสนาเว้นเสียแต่บางกลุ่มประเทศจะอนุญาตให้ดื่มแอลกอฮอล์ได้
สำหรับมารยาททางสังคมที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งคือ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศตรงข้าม แม้ว่าการพบปะกันจะเกิดจากการอยู่ในสายอาชีพเดียวกันหรือต้องมีการปฏิบัติงานร่วมกันก็ตามการแสดงออกนั้นยังคงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากข้อจำกัดทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีซึ่งควบคุมอยู่โดยสะท้อนผ่านการกฎเกณฑ์ทางสังคม การรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของครอบครัวถือเป็นค่านิยมสูงสุดของคนอาหรับ การที่ผู้หญิงอาหรับประพฤติผิดประเพณีนั้นถือเป็นเรื่องเสื่อมเสียซึ่งมีผลกระทบต่อวงศ์ตระกูลมากกว่าที่ผู้ชายเป็นผู้กระทำในกรณีเดียวกัน ดังนั้น การป้องกันความเสื่อมเสียที่จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงจึงเป็นสิ่งที่คนอาหรับให้ความสำคัญ ซึ่งแนวทางเช่นนี้อาจทำให้ผู้หญิงอาหรับมักจะถูกมองจากสังคมภายนอกว่าเป็นการเลือกปฏิบัติและไม่ได้รับความเป็นธรรมในด้านสิทธิ ทว่าในมุมมองของคนอาหรับแล้วแบบแผนทางสังคมเช่นนี้จะทำให้ผู้หญิงรอดพ้นจากค าครหานินทาหรือต้องตกอยู่ในสภาวะความเสียหายอื่นๆ คนอาหรับถือว่าการปกป้องสตรีเพศไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องส่วนบุคคลหรือครอบครัวแต่มันเป็นเรื่องของวัฒนธรรม ชาวต่างชาติจึงต้องระมัดระวังหากต้องมีการประสานงานกับเพศตรงข้ามเพราะหากมีการแสดงออกกับเพศตรงข้ามอย่างออกนอกหน้าแล้วคนอาหรับจะเกิดทัศนคติในเชิงลบทันทีและอาจมองได้ว่าเรากำลังหมิ่นเกียรติของสตรีชาวอาหรับได้
มารยาทในที่สาธารณะ
การแสดงพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสบถ การแสดงอากัปกิริยาที่หยาบคาย และการแสดงความรักในที่สาธารณะอาจถูกจับและลงโทษอย่างหนัก การแต่งกายทั้งหญิงและชายควรแต่งกายให้มิดชิดไม่เปิดเผยช่วงแขน ขา หรือเอวซึ่งถือว่าไม่สุภาพ ผู้ชายควรใส่กางเกงขายาวและผู้หญิงควรใส่กางเกงหรือกระโปรงที่ยาวเลยเข่า แม้ว่าปัจจุบันอาหรับหลายประเทศยังไม่มีกฎบังคับเรื่องการแต่งกาย แต่นักท่องเที่ยวก็ควรให้ความเคารพต่อสถานที่โดยการแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยและเหมาะสม
มารยาทโดยทั่วไปที่ควรทำและไม่ควรทำ (Do & Don’t)
- เมื่อมีคนเข้ามาในห้องผู้ที่อยู่ในห้องควรยืนขึ้น
- ถ้าเราเป็นผู้เข้ามาในห้อง ให้จับมือกับทุกคน โดยเริ่มจากคนที่อยู่ทางขวามือของเราก่อน
- ผู้ชายไม่ควรยื่นมือเพื่อจับมือกับผู้หญิงอาหรับ นอกจากว่าฝ่ายหญิงยื่นมือให้ก่อน หากฝ่ายหญิงไม่
ยื่นมือให้ก่อน ให้ทักทายด้วยวาจาก็ถือว่าเหมาะสมแล้ว - การไม่สัมผัสมือ (การจับมือ) เพื่อทักทายเมื่อพบเจอกัน หรือการจากไปโดยไม่ร่ าลาถือเป็นกิริยามารยาทที่ไม่สุภาพ เมื่อฝ่ายชายถูกแนะน าตัวกับฝ่ายหญิง เป็นสิทธิของฝ่ายหญิงที่จะเลือกสัมผัสมือฝ่ายชายหรือไม่ ผู้ที่เคร่งศาสนาบางครั้งปฏิเสธการจับมือกับผู้หญิง สิ่งนี้เป็นเรื่องปรกติไม่ใช่เรื่องน่ารังเกียจอะไร
- ผู้ชายไม่ควรชม ภรรยา น้องสาว และ ลูกสาวของชาวอาหรับว่า สวย หรือ น่ารัก เพราะจะถือว่า
เป็นการไม่สุภาพ - ชายมุสลิมบางคน จะไม่จับมือกับผู้หญิงที่ไม่อยู่ในครอบครัวของเขา
- ชาวมุสลิมจะปฏิบัติตัวแบบอนุรักษ์นิยมในการเข้าสังคม (Conservative Behavior) และถือความเป็นส่วนตัว (Privacy)
- การแสดงความรักระหว่างสามีภรรยาจะไม่ท าในที่สาธารณะในการเข้ากลุ่มสังคม การพูดคุยหยอกล้อและการหัวเราะจะกระทำด้วยเสียงที่เบา ไม่รบกวนผู้อื่น
- หากมีข้อโต้แย้งในครอบครัว หรือ กับญาติ และ เพื่อนฝูง จะไม่โต้เถียงกันต่อหน้าฝูงชนหรือผู้อื่น
- ควรหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นอายหรือเสียหน้า และควรหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า
- อย่าใช้มือซ้ายรับประทานอาหาร ถือถ้วยชา กาแฟ หรือส่งของต่อให้ผู้อื่น
- การนั่งแบบยื่นเท้าไปทางทิศที่คู่สนทนานั่งอยู่ถือเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยาม และห้ามชี้ปลายเท้าไปยังผู้อื่น หรือสิ่งของสำคัญ
- ไม่ควรนำอาหาร เครื่องดื่มหรือของขวัญไปยังบ้านที่เขาเชิญเราไปเป็นแขกผู้มาเยือน
- ส่วนมากเจ้าภาพหรือเจ้าของบ้านชาวอาหรับจะจัดที่นั่งเป็นวงกลมเพื่อให้มองเห็นกันทุกคน ไม่มีใครต้องมองหลังผู้อื่น
- การนั่ง อาจจะนั่งบนพื้นที่ถูกปูด้วยพรมเปอร์เซียหรืออาจนั่งบนเก้าอี้ แล้วแต่รสนิยมของเจ้าภาพ และความเหมาะสม
- ชาวอาหรับจำนวนมากจะเริ่มการประชุม หรือพบปะเจรจาต่าง ๆ ในครั้งแรก ๆ ด้วยการพูดคุยเพียงเล็กน้อยก่อนเพื่อทำความคุ้นเคยกันก่อน หากอีกฝ่ายเริ่มรุกอย่างรวดเร็วเพื่อเจรจาทางธุรกิจในทันทีอาจถูกต่อต้านหรือถอยหนีเพราะความอึดอัดในการเจรจา
- เป็นเรื่องปกติที่ชาวอาหรับจะไม่กล่าวคำว่า “ขอบคุณ” บ่อย ๆ ถึงแม้ว่าเขาจะรู้สึกขอบคุณเราอยู่
- ผู้หญิงไม่ควรสบตาผู้ชายเพราะจะถูกมองว่าไม่สุภาพ
- การให้ของขวัญแสดงความขอบคุณให้ทำแบบเรียบ ๆ และไม่ต้องให้ยืดยาว ผู้รับควรรับด้วยมือทั้งสอง และไม่ควรเปิดดูต่อหน้าเจ้าภาพ
- ในการเข้าร่วมงานเลี้ยงผู้ถูกเชิญควรอยู่ให้ถึงเวลาชา กาแฟในช่วงท้ายของมื้ออาหาร มิฉะนั้นจะถือว่าไม่สุภาพ
- การปฏิเสธไม่รับชา กาแฟที่เจ้าภาพเสนอถือว่าไม่สุภาพ
- น้ำชา กาแฟ จะถูกรินใส่ถ้วยเล็ก ๆ ครึ่งถ้วย การเติมชา กาแฟไม่ควรเกิน 3 ถ้วย และเมื่อพอแล้ว ควรส่งสัญญาณเล็กน้อย เพื่อให้พนักงานมาเก็บถ้วย
- เจ้าภาพควรเดินไปส่งแขกให้ถึงประตูทางออกด้านนอก หรืออาจเดินไปส่งถึงรถ หรืออย่างน้อยก็ไป
ส่งให้ถึงลิฟต์ทางลง - หากแขกกล่าวชื่นชอบบางสิ่งที่เป็นของเล็ก ๆ น้อย ๆ ชาวอาหรับมักจะเอ่ยปากมอบของสิ่งนั้นเป็นที่ระลึก ฉะนั้น ในฐานะที่เป็นแขกควรระมัดระวังการใช้คำพูดชื่นชมหรือชื่นชอบบางสิ่งบางอย่างที่เป็นของมีค่า
- หากทานอาหารตามภัตตาคารหรือร้านอาหาร ธรรมเนียมของอาหรับคือการเอ่ยปากขอเป็นเจ้ามือจ่ายเงิน โดยเฉพาะในงานเลี้ยงที่มีคนไม่มากนักหรือเป็นการเลี้ยงในวงนักธุรกิจ เราอาจปล่อยให้เขาจ่ายไปก่อน แล้วนำเงินไปคืนให้เขาทีหลัง (หากตั้งใจที่จะเลี้ยงอยู่แล้ว) ก็เป็นเรื่องที่กระทำได้และมีความเหมาะสมมากกว่า
- ห้ามถ่ายภาพบุคคลอื่น หรือสถานที่สำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต การถ่ายรูปจะต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน
- หลีกเลี่ยงการหันกล้องถ่ายรูปไปที่ สถานีตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สนามบิน วัง หรือสถานทูต
- ควรดูความเหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญ โดยดูตามกาลเทศะ
- ผู้ชายที่นุ่งกางเกงขาสั้นมาก ๆ หรือไม่ใส่เสื้อในที่สาธารณะเป็นการไม่สุภาพ
- ชาวต่างชาติที่แต่งตัวด้วยชุดพื้นเมือง อาจถูกมองว่าเป็นการล้อเลียนได้
- การแสดงท่าทางหรือภาษามือค่อนข้างเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เช่น การสัมผัสศีรษะของคนอื่น แม้กระทั่งกับเด็กเล็กก็ตาม ซึ่งถือเป็นเรื่องหยาบคายในบางประเทศ นอกจากนี้ ไม่ควรชี้นิ้วไปที่คนหรือสิ่งของ ควรใช้การผายมือแทน การยกนิ้วโป้ง (Thumb up) การเผยให้เห็นพื้นรองเท้าหรือฝ่าเท้า การใช้มือซ้ายหยิบจับสิ่งของเป็นต้น
- ชาวอาหรับจะไม่ชอบให้สัตว์เลี้ยงบางชนิดมาสัมผัสตัวโดยเฉพาะสุนัข ดังนั้น สัตว์เลี้ยงควรถูกนำไว้ให้เป็นที่เป็นทางขณะที่แขกชาวอาหรับอยู่ในบ้าน
42332