ปัญหาในการขยายตลาดแรงงานไทย
- จากการพบปะระหว่างผู้บริหารกระทรวงแรงงานและเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี และผู้บริหาร กระทรวง ทรัพยากรมนุษย์และการจ้างงานสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (MoHRE) จำนวน 5 ครั้ง ระหว่างปลายปี 2564 – ปัจจุบัน MoHRE แจ้งว่ามีความต้องการแรงงานจากประเทศไทยจำนวนมาก ผ่านมามีการประชุมระหว่างบริษัทจัดหางานไทยและสหรัฐเอมิเรตส์ แต่ไม่มีผลการจ้างแรงงานไทยเกิดขึ้นหลังการประชุม โดย MoHRE ไม่สามารถสนับสนุนข้อมูล Demand ที่นายจ้าง และบริษัทจัดหางานต้องการได้ โดยแจ้งว่าการดำเนินธุรกิจเป็นของภาคเอกชนและไม่สามารถแทรกแซงตลาดแรงงาน ภาคเอกชนได้ โดย MoHRE ได้เสนอโครงการใหม่ๆ และมีความพยายามประสานกับฝ่ายแรงงานฯ เพื่อจัดการประชุมระหว่าง นายจ้างยูเออีกับนายจ้างประเทศไทย และนายจ้างยูเออีกับบริษัทจัดหางานไทย แต่ MoHRE แจ้งเพียงความต้องการในภาพ กว้าง ไม่มีข้อมูลกรอบการดำเนินงาน และข้อมูลอื่นใดที่จะสนับสนุนให้ฝ่ายแรงงานฯ นำเสนอให้กระทรวงแรงงานได้นำข้อมูล ประสานนายจ้างหรือบริษัทจัดหางานเพื่อจะเกิดการประชุมได้ MoHRE มีท่าทีเพียงต้องการจัดการประชุม แต่มีท่าทีไม่พรอม ในการให้ข้อมูลใด ๆ เพื่อให้กระทรวงแรงงานไทยเกิดการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อฝ่ายไทย
- UAE ยังมีภาวะพึ่งพาแรงงานต่างชาติสูง นายจ้างมีความต้องการจ้างแรงงานไทยจำนวนมาก UAE ไม่มีกำหนด อัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำ และมีค่าจ้างที่ต่ำ ไม่จูงใจ เมื่อเทียบกับแรงงานจากเอเชียใต้ที่ยอมรับค่าจ้างที่ต่ำ ทั้งนี้ฝ่ายแรงงานฯ ได้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานไทยให้เป็นไปตามกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและเงื่อนไขสำหรับการจ้างแรงงานไทย ไปทำงานในประเทศภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2557 (อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของ แรงงานไร้ฝีมือ 500 USD แรงงานกึ่งฝีมือ 550 USD ขึ้นไป) แต่นายจ้างยังเห็นว่าอัตราค่าจ้างยังสูงเมื่อเปรียบเทียบกับแรงงาน ชาติอื่น ๆ
- UAE ต้องการแรงงานไทยในทุกระดับ แต่ปัญหาหลักของแรงงานไทยคือ ขาดทักษะทางด้านภาษา สำหรับแรงงาน ในระดับ Professional ยังเป็นที่ต้องการแต่แรงงานไทยไม่มีคุณสมบัติตามที่ยูเออีต้องการ เช่น ขาดทักษะทางด้านภาษา ขาดทักษะตามที่ตลาดแรงงานและนายจ้างต้องการ เช่น ต้องการทางด้านไอที แพทย์ พยาบาล งานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI การเรียนรู้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ฯลฯ
- จากข้อมูลแรงงานไทยที่เข้ามาทำงานส่วนใหญ่ใน UAE คือ งานภาคบริการ ที่แรงงานไทยได้รับการยอมรับ ทางด้านทักษะฝีมือ และแรงงานที่ยังอยู่ในตลาดแรงงาน UAE ขณะนี้ยังมีปัญหาหลักในด้านการสื่อสารกับนายจ้าง ยกเว้น ในตำแหน่ง พนักงานในอุตสาหกรรมการบิน และพนักงานส่วนต้อนรับในโรงแรม และพนักงานในตำแหน่งระดับสูง หากแรงงานไทยได้มีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะฝีมือทางด้านภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ จะทำให้เพิ่มสัดส่วน ของตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ควรรักษาตลาดแรงงานเดิมไว้ส่วนหนึ่ง โอกาสในการขยายมีจำนวนเพิ่มขึ้นได้ไม่มากนัก หลังจากที่แรงงานไทยเดินทางเข้ามาจำนวนมากขึ้นหลังสถานการณ์โควิด และควรสนับสนุนตลาดแรงงานระดับที่มีทักษะ งานที่มีคุณภาพมีรายได้ที่เหมาะสมและมีสวัสดิการที่ดี
- คนหางานสามารถมาเปลี่ยนวีซ่าทำงานในยูเออีภายหลังได้ทำให้นายจ้างมีทางเลือกในการจ้างงานในประเทศเพิ่ม มากขึ้น และคนหางานส่วนหนึ่งยอมรับค่าจ้างที่ต่ำเมื่อเดินทางมาหางานทำแล้ว
- ค่าใช้จ่ายในการรับรองเอกสารมีราคาสูงมาก (ประมาณ 70,000 บาท ต่อ Demand)ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขยาย ตลาดแรงงานและส่วนใหญ่นายจ้างร้อยละ 90 มีความต้องการแบบจ้างตรง ไม่ต้องการผ่านบริษัทจัดหางาน.
- บริษัทจัดหางานสนใจจัดส่งแรงงานมาทำงานในยูเออี แต่ไม่เดินทางเข้ามาหาตลาดเอง
1366